|
|
|
|
|
|
ความหมายของคำว่า อ้วน
|
|
|
|
|
|
ความอ้วน ในที่นี้หมายถึง
ความอ้วนที่มากเกินไป มีน้ำหนักตัวมากกว่าที่ควรจะเป็น ไม่ใช่อ้วนกำลังดี อ้วนพองามหรือกำลังสวย
คำว่า อ้วน ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง มีเนื้อและไขมันมาก
โต อวบ ซึ่งเป็นความหมายที่ไม่น่าปรารถนาของคนทั่ว ๆ ไป ถ้าคุณถูกทักว่า ดูคุณอ้วนขึ้นนะ
ทำไมเดี๋ยวนี้อ้วนจัง คุณก็คงไม่ค่อยจะพอใจนัก |
|
|
|
|
|
คนอ้วน หรือคนที่เป็นโรคอ้วนนั้น
หมายถึง ผู้ที่มีปริมาณไขมันอยู่ในร่างกายมากกว่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งตามหลักสากลกำหนดว่า
|
|
|
|
|
|
ผู้ชาย ไม่ควรมีปริมาณของไขมันในตัวเกินกว่า
ร้อยละ 12 15 ของน้ำหนักตัว
ผู้หญิง ไม่ควรมีปริมาณของไขมันในตัวเกินกว่า
ร้อยละ 18 20 ของน้ำหนักตัว
ซึ่งในการตรวจหาปริมาณไขมันนี้ต้องทำในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นวิธีที่ยุ่งยากอยู่ไม่น้อยทีเดียว
|
|
|
|
|
|
คนอ้วนจะรู้สึกอุ้ยอ้ายขาดความคล่องแคล่วว่องไวไม่กระฉับกระเฉงต้องแบกน้ำหนักตัวมาก
ๆ อยู่ตลอดเวลา อาจได้รับฉายาต่าง ๆ นานา นอกจากนี้ยังเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายอีกมากมาย
ดังนั้นเราจึงไม่ควรจะปล่อยตัวเองให้อ้วนหรือถ้ากำลังอ้วนอยู่ก็น่าที่จะหาทางลดน้ำหนักลงมาในระดับปกติของคนทั่ว
ๆ ไป |
|
|
|
|
|
สาเหตุของความอ้วน
|
|
|
|
ความอ้วนเกิดจากการที่ร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารเข้าไปมากกว่าที่ร่างกายต้องการ
และเกิดการสะสมไว้ในรูปของไขมันซึ่งอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หลักง่าย
ๆ ของการลดน้ำหนักก็คือ ให้ร่างกายได้รับพลังงานน้อยลงกว่าที่ต้องการและใช้พลังงานที่เก็บสะสมไว้ให้มากขึ้น
แต่ในทางปฏิบัติเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะการรับประทานนั้นนอกจากจะเกิดจากความหิวแล้วยังเกิดจากความอยากจากการได้ยิน
ได้เห็น ได้กลิ่นและได้ชิมรสด้วย |
|
|
|
สาเหตุที่ทำให้อ้วน
|
|
|
1.
|
กรรมพันธุ์ |
|
ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งสองคนลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ
80 ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งอ้วนลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 40 แต่คุณไม่ควรจะวิตกกังวลจนเกินเหตุไม่ใช่ว่าคุณจะหมดโอกาสผอมหรือหุ่นดีเหมือนคนอื่น |
2.
|
นิสัยในการรับประทานอาหาร |
|
คนที่มีนิสัยการรับประทานที่ไม่ดี
ที่เรียกว่ากินจุบกินจิบไม่เป็นเวลาก็ทำให้อ้วนได |
3.
|
ขาดการออกกำลังกาย |
|
|
ถ้ารับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ
แต่ได้ออกกำลังกาย บ้างก็อาจทำให้อ้วนช้าลง แต่หลายท่านที่รับประทานพอดีหรือมากกว่าความต้องการของร่างกายแล้วนั่ง
ๆ นอน ๆ โดยไม่ได้ยืดเส้นยืดสายออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมใด ๆ ในไม่ช้าจะเกิดการสะสมเป็นไขมันในร่างกาย |
|
4.
|
จิตใจและอารมณ์ |
|
|
มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่การรับประทานอาหารนั้นขึ้นอยู่กับจิตใจและอารมณ์
เช่น การรับประทานอาหารเพื่อดับความโกรธ ความคับแค้นใจ กลุ้มใจ กังวลใจหรือดีใจ
บุคคลเหล่านี้จะรู้สึกว่าอาหารททำให้จิตใจสงบ จึงหันมายึดเอาอาหารไว้เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสบายใจ
ตรงกันข้ามกับบางคนกลุ้มใจเสียใจก็รับประทานอาหารไม่ได้ถ้าในระยะเวลานาน ๆ
ก็มีผลทำให้ขาดอาหารเป็นต้น |
|
5.
|
ความไม่สมดุลย์ระหว่างความรู้สึกอิ่มกับความหิวหรือความอยากอาหาร |
|
|
เมื่อใดที่ความอยากเพิ่มขึ้นเมื่อนั้นการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งถึงขั้นที่เรียกว่า กินจุ ในที่สุดก็จะทำให้อ้วน |
|
6.
|
เพศ |
|
|
เพศหญิงมักมีโอกาสอ้วนได้ง่ายกว่าเพศชาย
เพราะโดยธรรมชาติมักสรรหาอาหารมารับประทานกันได้ตลอดเวลา อีกทั้งเพศหญิงจะต้องตั้งครรภ์ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
เพราะต้องรับประทานอาหารมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและทารกในครรภ์ และหลังจากคลอดบุตรแล้วก็ไม่สามารถลดน้ำหนักลงมาให้เท่ากับ
เมื่อก่อนตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ ในขณะตั้งครรภ์นั้นมักจะรับประทานอาหารในประมาณที่มาก
ทำให้ติดเป็นนิสัยจึงทำให้น้ำหนักยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ |
|
7.
|
อายุ |
|
|
เมื่อมีอายุมากขึ้นก็มีโอกาสอ้วนง่ายขึ้นทั้งเพศชายและเพศหญิง
ซึ่งอาจเนื่องมาจากการใช้พลังงานน้อยลง |
|
8.
|
กระบวนการทางเคมีที่เกิดขึ้นในร่างกาย |
|
|
อัตราการเปลี่ยนแปลงทางเคมีภายในร่างกาย
คือ อัตราความสามารถในการใช้พลังงานของร่างกายจะค่อย ๆ ลดลงตามอายุ นอกจากนี้อัตราการเผาผลาญยังขึ้นอยู่กับเพศ
รูปร่าง กรรมพันธุ์และวิธีการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลด้วย |
|
9.
|
ยา |
|
|
ผู้ป่วยบางโรค จะได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์เป็นเวลานานก็ทำให้อ้วนได้
และในเพศหญิงที่ฉีดยาหรือรับประทานยาคุม กำเนิดก็ทำให้อ้วนได้เช่นกัน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|