ชุดที่ 3
     
  ชุดที่ 1 | ชุดที่ 2 | ชุดที่ 3 แบ่งออกตามหมวด | | | | ชุดที่ 4 | หน้าหลัก  
     
ระกำ (Salacca)

สรรพคุณทางยา :
ระกำเป็นผลไม้ที่มีวิตามิน ซี มาก ดังนั้น จึงมีสรรพคุณในการช่วยป้องกันอาการเป็นหวัดให้กับผู้ที่รับประทานผลระกำเป็นประจำ นอกจากนี้แล้วระกำก็ยังมีสรรพคุณในการแก้กระหายน้ำ และช่วยในการย่อยอาหารและยังทำให้เจริญอาหารอีกด้วย

ลองกอง (Longkong , Duku)

สรรพคุณทางยา :
ลองกองมีสรรพคุณในการลดความร้อนที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของมนุษย์ นอกจากนี้แล้ว การรับประทานลองกองเป็นประจำก็ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการร้อนในขึ้นภายในปากได้อีกด้วย

ละมุด (Sapota , Sapodilla)

สรรพคุณทางยา :
ผลของละมุดมีสารอาหารที่มีความจำเป็นกับร่างกายของมนุษย์มากมายไม่ว่าจะเป็นน้ำตาล วิตามิน หรือเกลือแร่ชนิดต่าง ๆ หลายชนิดดังนั้นจึงมีประโยชน์ต่อร่างกาย ผู้ที่รับประทานผลละมุดเป็นประจำสม่ำเสมอแล้วก็จะทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่เสมอ

ลางสาด (Lancet , Langsium)

สรรพคุณทางยา :
ลางสาดมีสรรพคุณในทางยาที่ช่วยให้ชุ่มคอ ละลายเสมหะและช่วยบรรเทาอาการไอได้เป็นอย่างดี

ลูกตาล (Palmyra palm)

สรรพคุณทางยา :
ลูกตาลมีสรรพคุณในการที่ช่วยละลายเสมหะที่มีในลำคอ และช่วยบรรเทาอาการไอ แก้กระหาย ตลอดจนช่วยลดความร้อนภายในร่างกายอีกด้วย

ลูกบัว (Lotus)

สรรพคุณทางยา :
ส่วนต่าง ๆ ของต้นบัวล้วนแล้วแต่สามารถที่จะนำเอามาใช้เป็นยาได้มากมายหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นลูกบัว เปลือกหุ้มเมล็ดบัว ต้นอ่อน ใบบัว ดอกบัว รากบัว สายบัว และฝักบัว เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนของลูกบัวนั้นจะมีรสหวานในตัว ซึ่งจะประกอบไปด้วยสารอาหารมากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นแป้ง โปรตีน ไขมัน และเกลือแร่ชนิดต่าง ๆ จำนวนมาก ดังนั้น จึงทำให้ลูกบัวมีประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์ และมีสรรพคุณในทางยาคือเป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงไต และบำรุงประสาท นอกจากนี้ หากรับประทานลูกบัวสม่ำเสมอแล้วก็จะช่วยป้องกันอาการท้องร่วงได้อย่างดีอีกด้วย ส่วนต้นอ่อนของบัวนั้นจะมีสรรพคุณในการช่วยลดความดันโลหิต เช่นเดียวกันกับรากบัวที่หากผู้ใดรับประทานเป็นประจำแล้วก็จะช่วยบำรุงโลหิต และยังจะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันได้อีกด้วย

ตำรับยาแผนโบราณ :
หากนำเอาน้ำที่คั้นจากรากบัวมาต้มดื่มกับน้ำตาลแล้วก็จะช่วยลดอาการเลือดกำเดาออกง่าย หรือหากน้ำเอาต้นอ่อนของบัวและเมล็ดบัวตากแห้งมาต้มรวมกับน้ำสุกรับประทานแล้ว จะช่วยลดความดันโลหิตภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี

ลำไย (Longan)

สรรพคุณทางยา :
เนื้อของผลลำไยนั้นจะประกอบไปด้วยสารอาหารมากมายหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลกลูโคส ซูโคส และวิตามินชนิดต่าง ๆ โดยในผลลำไยแห้งนั้นจะมีสรรพคุณในการบำรุงหัวใจ ระบบประสาท และช่วยในการย่อยอาหาร ส่วนผลลำไยสดนั้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงระบบประสาท ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และใช้บำรุงร่างกายของสตรีภายหลังจากการคลอดบุตร แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรที่จะรับประทานลำไยมากจนเกินไปนักเพราะอาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บคอขึ้นได้

ตำรับยาแผนโบราณ :
หากนำเอาเนื้อของผลลำไยแห้งมาต้มกับน้ำตาลก็จะช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงไต ลดความเครียด แก้อาการกระสับกระส่าย และยังช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย และถ้าหากนำเอาเนื้อลำไยแห้งมารับประทานเป็นประจำแล้วก็จะช่วยในการบำรุงกำลัง และบำรุงโลหิต

ลิ้นจี่ (Litchi)

สรรพคุณทางยา :
เนื้อของผลลิ้นจี่นั้นจะมีสรรพคุณในการเป็นยาช่วยย่อยอาหาร บำรุงอวัยวะภายในต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นม้าม หรือระบบประสาท นอกจากนี้แล้ว เนื้อของผลลิ้นจี่ก็ยังช่วยในการบรรเทาอาการกระหายน้ำ ส่วนเมล็ดของผลลิ้นจี่นั้นยังมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดเนื่องมาจากโรคไส้เลื่อน หรือลูกอัณฑะบวมได้อีกด้วย

ตำรับยาแผนโบราณ :
หากนำเอาเนื้อของผลลิ้นจี่มาต้มรวมกับเนื้อของผลพุทราแล้วรับประทานกับน้ำก็จะช่วยบรรเทาอาการท้องร่วงเรื้อรังได้เป็นอย่างดี และหากนำเอาเนื้อของผลลิ้นจี่ที่ตกแห้งแล้วมาต้มรวมกับน้ำแล้วรับประทานเป็นประจำก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดเนื่องมาจากลูกอัณฑะบวม และยังช่วยรักษาโรคโลหิตจางได้อีกด้วย

สตรอบอรี่ (Strawberry)

สรรพคุณทางยา :
สตรอบอรี่มีวิตามิน ซี อยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วก็ยังมีสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้น หากรับประทานสตรอบอรี่เป็นประจำแล้วก็จะทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และยังช่วยบรรเทาอาการท้องผูกช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยทำให้ระบบการดูดซึมอาหารของร่างกายดียิ่งขึ้น และก็ยังจะช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย

ส้มเกลี้ยง (Orange)

สรรพคุณทางยา :
ผลของส้มเกลี้ยงนั้น จะประกอบไปด้วยสารอาหารที่มีความจำเป็นกับร่างกายของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นวิตามินหรือเกลือแร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลของส้มเกลี้ยงนั้นจะมีปริมาณ วิตามิน ซี อยู่เป็นจำนวนมาก และนอกเหนือไปจากคุณค่าทางอาหารแล้ว ส่วนต่าง ๆ ของส้มเกลี้ยงก็ล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณในทางยาไม่ว่าจะเป็นผล เปลือก และใบ โดยเนื้อของผลส้มเกลี้ยงก็ล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณในการแก้หวัดลดอาการไข้ และยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บคออีกด้วย ส่วนเปลือกของส้มเกลี่ยงนั้นสามารถที่จะนำมารับประทานเพื่อบรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ และช่วยลดความกระด้างของผิว และช่วยทำให้ผิวพรรณดีปราศจากรอยด่างดำ

ตำรับยาแผนโบราณ :
หากรับประทานน้ำส้มสดเป็นประจำแล้วก็จะช่วยป้องกันอาการไข้หวัด ช่วยลดไข้และอุณหภูมิความร้อนภายในร่างกาย ช่วยทำให้ชุ่มคอและยังช่วยทำให้อาการท้องอืดเฟ้อหายไปได้ นอกจากนี้แล้ว หากนำเอาเปลือกของผลส้มสดที่คั้นเอาน้ำออกหมดแล้ว มาถูที่ผิวหนังในบริเวณข้อศอกและหัวเข่าก็จะช่วยทำให้หัวเข่าและข้อศอกหายดำด้านได้

ส้มเขียวหวาน (Tangerine)

สรรพคุณทางยา :
ส้มเขียวหวานมีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการกระหาย ช่วยป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ป้องกันไม่ให้เกิดอาการของโรคไข้หวัดช่วยลดปริมาณของคอเลสเตอรอลในโลหิต และยังช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารภายในร่างกายเป็นไปอย่างปกติอีกด้วย

ส้มจีน (Mandarin orange)

สรรพคุณทางยา :
ในผลส้มจีนนั้นมีสรรพคุณในการช่วยทำให้ปอดชุ่มชื้นแก้กระหาย บรรเทาอาการไอละลายเสมหะ และยังช่วยทำให้เลือดลมเดินได้สะดวกอีกด้วย นอกจากนี้ แล้วจากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยังพบว่า ผลส้มจีนนั้นมีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ช่วยลดอาการของโรคความดันโลหิตสูง และช่วยในการรักษาโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ในส่วนต่าง ๆ ของส้มจีนนั้นก็ยังสามารถที่จะนำมาใขช้ทำเป็นยาได้อีกด้วยโดยเปลือกของส้มจีนนั้นมีสรรพคุณในการช่วยละลายเสมหะ แก้ไอ และช่วยทำให้เจริญอาหาร เป็นต้น หรือหากนำเอาเปลือกของส้มจีนมาแปรรูปทำเป็นเปลือกส้มเค็มแล้วก็จะช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ส่วนใบของส้มจีนนั้นยังมีสรรพคุณในการรักษาโรคตับ และบรรเทาอาการปวดตามข้อด้วย

ตำรับยาแผนโบราณ :
หากคั้นเอาน้ำของผลส้มจีนมาทาบริเวณที่ผิวหนังอักเสบติดเชื้อ หรือบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวกก็จะช่วยในการฆ่าเชื้อ และทำให้แผลหายเร็วยิ่งขึ้นอีก และถ้าหากนำเอาเปลือกส้มมาแช่รวมไว้ในน้ำที่จะอาบหรือล้างหน้าก็จะช่วยทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่มมีน้ำมีนวล หรือนำเอาเปลือกส้มมาต้มรวมกับน้ำตาลใช้รับประทานเช่นเดียวกับน้ำชาเพื่อให้ชุ่มคอ ละลายเสมหะได้เป็นอย่างดี

ส้มแขก (Garcinia)

สรรพคุณทางยา :
ในส่วนของผลส้มแขกนั้นจากการศึกษาวิจัยพบว่าสามารถที่จะสกัดเอาสารประกอบทางเคมีที่มีคุณสมบัติในการช่วยดักจับไขมัน ที่มนุษย์รับประทานเข้าไปในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส้มโอ (Pomelo)

สรรพคุณทางยา :
ในส่วนต่าง ๆ ของส้มโอล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณในการที่จะสามารถใช้เป็นยาได้แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเนื้อของผล เปลือกของผล และเมล็ดของส้มโอมีสรรพคุณในการช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยในการย่อยอาหาร ลดอาการปวดบวมของผิวหนัง และยังช่วยลดปริมาณของเสมหะที่มีในลำคออีกด้วย

ตำรับยาแผนโบราณ :
หากรับประทานเนื้อของผลส้มโอภายหลังอาหารแล้วก็จะช่วยในการย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไปได้ดียิ่งขึ้น หรือหากนำเอาเปลือกของผลส้มโอมาผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำไปนึ่งรับประทานทุกเช้าเย็นแล้ว ก็จะช่วยบรรเทาอาการของโรคหอบหืดได้เป็นอย่างดี หรือสตรีมีครรภ์สามารถที่จะนำเอาเปลือกของผลส้มโอมาสับให้ละเอียดต้มกับน้ำดื่มแก้อาการแพ้ทอง คลื่นไส้อาเจียนได้

สับปะรด (Pineapple)

สรรพคุณทางยา :
สับปะรดเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงเนื่องมาจากมีปริมาณของวิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยไฟเบอร์ที่มีอยู่มากมายในผลสับปะรด นอกจากนี้แล้ว สับปะรดก็ยังมีสรรพคุณในทางยามากมายหลายอย่าง อาทิเช่น การช่วยย่อยอาหาร เสริมสร้างการดูดซึมอาหารของร่างกาย การลดความร้อนของร่างกายและยังช่วยแก้กระหาย นอกจากนี้แล้วยังได้มีการศึกษาวิจัยจนกระทั่งพบว่า ผู้ที่รับประทานสับปะรดเป็นประจำแล้ว ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคไตอักเสบและโรคความดันโลหิตสูงอีกด้วย

ตำรับยาแผนโบราณ :
หากนำเอาเนื้อของผลสับปะรดมารับประทานแล้วก็จะช่วยบรรเทาอาการบวมน้ำของร่างกาย และยังช่วยในการขับปัสสาวะอีกด้วย หรือหากรับประทานน้ำสับปะรดเป็นประจำแล้ว ก็จะช่วยลดความร้อนของร่างกาย และช่วยลดอาการกระสับกระส่ายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

สาลี่ (Pear)

สรรพคุณทางยา :
สาลี่เป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณในการช่วยบำรุงร่างกายและอวัยวะภายในต่าง ๆ อาทิเช่น กระเพาะ ปอด และไต นอกจากนี้แล้วก็ยังมีสรรพคุณที่ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยลดความร้อนภายในร่างกาย แก้ไอละลายเสมหะ และยังช่วยในการบรรเทาอาการของโรคหลอดลมอักเสบอีกด้วย

ตำรับยาแผนโบราณ :
หากนำเอาลูกสาลี่สดมาสับให้ละเอียดแล้วนำไปต้มรวมกับน้ำตาลทราย แล้วนำไปรับประทานเพื่อบรรเทาอาการของโรคหวัด บรรเทาอาการไอ และรักษาอาการของโรคหลอดลมเรื้อรัง ส่วนการรับประทานสาลี่ประจำนั้นก็จะมีส่วนช่วยในการป้องกันการเป็นโรคดีซ่านได้ หรือหากนำเอาเนื้อของผลสาสีมาต้มกับน้ำผึ้งและน้ำตาลเพื่อรับประทานติดต่อกันแล้ว ก็จะช่วยรักษาอาการไอแห้ง ๆ หรือมีเสมหะภายในลำคอ หรือช่วยรักษาอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
     
  ชุดที่ 1 | ชุดที่ 2 | ชุดที่ 3 แบ่งออกตามหมวด | | | | ชุดที่ 4 | หน้าหลัก